การจัดการมหาบัณฑิต
สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร
FOOD BUSINESS MANAGEMENT
เรียนต่อปริญญาโท / ปริญญาโท MBA / เรียน MBA / เรียนต่อ MBA / Program MBA / MBA Degree / รับสมัคร ป.โท / วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
” สร้างบุคลากรเพื่อยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารไทยรับ AEC “
แนวคิดสาขาการจัดการธุรกิจอาหาร
เพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่ในธุรกิจเกษตรและอาหาร ทั้งจากภาครัฐซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลยกระดับ และพัฒนาการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารและภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ให้มีความรู้ ความสามารถ และศักยภาพในการสร้างความได้เปรียบทางการค้า และการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในตลาดโลก เพื่อรองรับการเปิดเขตการค้าเสรีภายใต้กรอบกติกาการค้าขององค์การการค้าโลก และการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศง2558
ประโยชน์ของหลักสูตรต่อการพัฒนาของประเทศ
การยอม รับของนานาชาติ ในเรื่องความปลอดภัยและมาตรฐานของอาหารที่มาจากประเทศไทย เป็นหนึ่งในจุดอ่อนสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออกของไทย โดยเฉพาะการถูกนำมาใช้เพื่อกีดกันทางการค้าหรือ การส่งคืนสินค้าจากประเทศคู่ค้าเป็นต้น ในฐานะผู้ผลิตอาหารป้อนตลาดโลก อุตสาหกรรมอาหารของไทย มีศักยภาพและโอกาสที่จะเติบโตภายใต้ตราสินค้าของตนเองได้มหาศาล หากบุคลากรในห่วงโซ่ธุรกิจอาหารของไทย ให้มีความรู้ ความเข้าใจในระบบและกฎระเบียบ หรือข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอาหารของในประเทศและประเทศคู่ค้า ตลอดจนมีความสามารถในการตลาดการจัดการบริหารธุรกิจอาหารส่งออก
โดย หลักสูตรนี้จะสร้างและพัฒนาบุคลากรที่มีความเข้าใจในระบบการจัดการธุรกิจ เกษตรและอาหาร และกฎระเบียบหรือข้อกำหนดด้านมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร ของประเทศและประเทศคู่ค้า ซึ่งเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และสร้างความเข้มแข็งและความได้เปรียบทางการค้าแก่ภาคเกษตรอุตสาหกรรมของไทย ในเวทีระดับภูมิภาคและเวทีโลก และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการและบุคลากรที่กำกับดูแลอุตสาหกรรมอาหารในการ จัดการธุรกิจอาหารให้ได้ตามมาตรฐานสากลภายใต้ปัญหาหรือภัยคุกคามทางการค้า รูปแบบใหม่ และผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรี และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นอก จากนี้ยังทำให้เกิดแหล่งผลิตและรวบรวมงานวิจัยในรูปแบบสารนิพนธ์ในหัวข้อที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจอาหาร ในเรื่องการควบคุม การจัดการภาคอุตสาหกรรมเกษตร การกำหนดมาตรฐาน และการตรวจสอบรับรอง รวมทั้งบทเรียนในเรื่องข้อพิพาทในเวทีการค้า และการเจรจาต่อรองข้อพิพาท ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ได้องค์ความรู้ที่นำมาใช้พัฒนาการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรม อาหารเพื่อการส่งออกของประเทศได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
โครงสร้างหลักสูตร สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร
รายวิชาของหลักสูตร เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการและการวิจัยธุรกิจ การเจรจาต่อรองข้อพิพาททางการค้า การจัดการคุณภาพและปลอดภัย กฏหมายและมาตรฐานทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้า การควบคุม การตรวจสองและออกใบรับรองสินค้าเกษตรและอาหาร ตลอดจนกติกาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก รวมถึงแนวคิด และหลักการทางวิทยาศาสตร์การเกษตรและอาหาร โภชนาการ และความปลอดภัยอาหารที่ใช้เป็นข้อสนับสนุน และอ้างอิงในการกำหนดกฏระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิต การกระจายและจำหน่ายสินค้าและการนำเข้าและส่งออก
หมวดวิชาบังคับ
- หลักการจัดการ
- ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
- เศรษฐกิจไทยในบริบทโลก
- การเงินธุรกิจ
- การจัดการทางการตลาดเชิงกลยุทธ์
หมวดวิชาแทน
- การวิจัยธุรกิจ
- หลักการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
- หลักการและแนวคิดด้านกฏหมาย และมาตรฐานเกี่ยวกับคุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร
หมวดวิชาเลือกเสรี
- เป็นรายวิชาเลือกเอาตามความถนัดของแต่ละบุคคล ซึ่งนักศึกษาสามารถที่จะเลือกเรียน จำนวน 1 รายวิชาในรายวิชาที่สนใจ
หมวดวิชาเลือกเฉพาะสาขา
- แนวคิดด้านโภชนการสำหรับธุรกิจอาหาร
- หัวข้อพิเศษทางการจัดการธุรกิจอาหาร
- การประเมินความปลอดภัยสำหรับธุรกิจอาหาร
- ความปลอดภัยและระบบบริหารคุณภาพในห่วงโซ่อาหาร
- ความขัดแย้งและการเจรจาต่อรองทางการค้าอาหารระหว่างประเทศ
- การแก้ปัญหาด้านการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
- การเป็นที่ปรึกษาและผู้ประเมินระบบคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
- กฎหมายอาหารระดับชาติและนานาชาติ
- การจัดการเชิงกลยุทธ์
- พฤติกรรมผู้บริโภค
- สัมมนาในการจัดการ
สารนิพนธ์
ช่วงเวลาในการเรียน
วิทยาลัยฯ จัดการเรียนการสอน 3 เทมอต่อปี โดยใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี 8 เดือน (5 เทมอ) หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรภาษาไทย ระดับปริญญาโทภาคพิเศษ จัดการเรียนการสอนในช่วงเย็นหลังเวลาทำการ (18.00 น. – 21.00 น.) สัปดาห์ละ 2 วัน และวันเสาร์ หรือ วันอาทิตย์ ครึ่งวัน จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต
ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร
ค่าใช้จ่ายสำหรับนักศึกษา หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิตหลักสูตรไทย (ภาคพิเศษ) สำหรับ 45 หน่วยกิตเท่ากับ 319,000 บาท ค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่รวมค่าเรียนปรับพื้นฐาน
วิธีการสมัครเรียน
- สมัครเข้าเรียนด้วยตนเองทางระบบ Online ได้ที่ www.cmmu.mahidol.ac.th/onlineapplication
- สอบถามเพิ่มเติมที่ Call Center 02 206 2000
หลักสูตรนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงาน คือ วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล สำักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
69 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 02 206 2000 โทรสาร 02 206 2090
———————————————————————————————————————————————————
รวมหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรัฐบาล
รวมหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยเอกชน